การนอนหลับที่มีคุณภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง ใน เด็ก วัยรุ่น จนถึงอายุ 25 ปีอย่างไร

การนอนหลับที่มีคุณภาพส่งผลต่อการพัฒนาสมองใน เด็ก วัยรุ่น จนถึงอายุ 25 ปีอย่างไร?

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

มนุษย์ต้องการระยะเวลาในการนอนหลับอย่างมีคุณภาพไม่เท่ากันในเด็ก วัยรุ่น จนถึงอายุ 25 ปี ซึ่งส่งผลสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสมอง

พี่ปุ๋มมาสรุปให้ต่อสำหรับการสัมภาษณ์ Prof.Matthew Walker 3 ช.ม.เต็มทางช่อง Rich Roll Channel ใน Youtube พี่วางลิงค์ไว้ให้แล้วนะคะ
 
สำหรับบทความตอนนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากกับคุณพ่อคุณแม่ซึ่งมีลูกกำลังเข้าสู่วัยรุ่นค่ะ

ผลกระทบของการอดนอนเรื้อรังในเด็กและวัยรุ่น

Prof.Matthew กล่าวว่ามีการศึกษาเรื่องนี้จำนวนมากซึ่งเขาอยากจะแบ่งเป็นสองหัวข้อสำคัญคือ

A: การที่โรงเรียนส่วนใหญ่บนโลกนี้เริ่มต้นชั้นเรียนเช้ามาก กระทบต่อสุขภาพของเด็กและวัยรุ่นอย่างไร

เขากล่าวว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่ต่อสู้กับการที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยนเวลาเริ่มต้นชั้นเรียนจาก 7.30 น. เป็น 9.00 น.(เวลาที่เขาคิดว่าเหมาะสมจริงๆคือ 10.00 น.) แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นผล จากงานวิจัยพบผลกระทบของการอดนอนต่อความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพของเด็กและวัยรุ่นดังนี้

เราพบว่าเมื่อเลื่อนเวลาการเริ่มต้นชั้นเรียนออกไปเป็น 9.00 น. ผลลัพธ์คือ

1. ผลการเรียนซึ่งปรากฏเป็นเกรดนั้นดีขึ้น
 
2. อัตราการละทิ้งหน้าที่ในการเรียนลดลง
 
3. ความผิดปกติทางด้านจิตใจและด้านจิตเภทลดลง
 
4. ยืดอายุขัยของเด็กวัยรุ่นให้ยืนยาวขึ้น สำหรับพี่ข้อนี้สำคัญมาก ซึ่งพวกเราอาจจะสงสัยว่าเพราะอะไร Prof.Matthew กล่าวว่าสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในวัยรุ่นตอนปลายไม่ใช่การฆ่าตัวตาย แต่คืออุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งการอดนอนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก มีตัวอย่างที่ดีจาก Teton County ในรัฐ Wyoming ซึ่งโรงเรียนเลื่อนเวลาเริ่มต้นชั้นเรียนจาก 7.30 น. เป็น 9.00 น.พบว่า นอกจากเด็กๆรายงานเรื่องได้นอนเพิ่มขึ้นแล้ว ที่สำคัญพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์สำหรับเด็กอายุ 16-18 ปีลดลงถึง 70%
 
เราประดิษฐ์ ABS ติดตั้งในรถยนต์ ซึ่งช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ 20-25% มนุษย์ตื่นเต้นกันมากว่าเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่แค่นอนอย่างมีคุณภาพซึ่งเป็นปัจจัยทางชีวะวิทยาที่ง่ายมาก คือให้เด็กได้นอนเพิ่ม ก็สามารถที่จะลดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ถึง 70% แต่เราก็ไม่ทำกัน

B: การนอนหลับมีความสำคัญยิ่งอย่างไรต่อการพัฒนาสมอง ในเรื่องนี้เขากล่าวว่า

“When sleep is abundant, Mind flourishs”

1. เรามีความเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องจังหวะการนอนของเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่น Prof.Matthew กล่าวว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาในเรื่องจังหวะการนอนในเด็กวัยรุ่นคือ “พวกเขาต้องการเข้านอนช้าลงและตื่นให้สายขึ้น” ซึ่งพ่อแม่ก็มักจะดุว่าลูกให้เข้านอนเร็วเนื่องจากพ่อแม่ก็ต้องตื่นเช้าเพื่อไปทำงานพร้อมกับส่งลูก
ดังนั้นการให้เด็กวัยรุ่นไปโรงเรียนแต่เช้า ก็เหมือนกับเขามีสมองที่รั่วใส่ความรู้อะไรเข้าไปก็ไหลออกหมดเก็บไว้ไม่ได้ เพราะเขานอนไม่พอ ที่สำคัญพ่อแม่มักจะคิดว่าลูกของตนนั้นนอนพอ โดยหารู้ไม่ว่ามีเพียงแค่ 15% ของเด็กวัยรุ่นเท่านั้นที่นอนพอ ดังนั้นวันเสาร์-อาทิตย์พวกเขาจึงนอนเอาเป็นเอาตาย เพื่อหวังชดเชยการอดนอนซึ่งมันชดเชยไม่ได้ การนอนไม่สามารถฝากธนาคารเอาไว้ได้ค่ะ
 
2. การนอนมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความยืดหยุ่นของสมอง (Brain plasticity) Prof.Matthew ให้ความกระจ่างเรื่องนี้ว่าเราจะแบ่งความสำคัญของการนอนต่อการพัฒนาสมองออกเป็นสองช่วงอายุ
 
– ช่วงที่ 1 ตั้งแต่เกิด-5 ขวบ การนอนช่วยเชื่อมต่อเซลล์ประสาทสมองเข้าด้วยกัน การนอนมีบทบาทเหมือนเป็น Internet Service Provider เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทข้างเคียงเข้าด้วยกัน ในช่วงระยะเวลานี้การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทจะเกิดขึ้นโดยทั่วสมอง ยังไม่มีความจำเพาะเจาะจงใดๆ เหมือนสร้างพิมพ์เขียวต้นแบบกลางๆเอาไว้
 
– ช่วงที่ 2 เป็นช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงอายุ 25 ปี ช่วงเวลานี้ประสบการณ์ของเด็กแต่ละคนจะสอนสมองให้เลือกเส้นทางและพื้นที่ภายในสมองที่เขาต้องการจะส่งเสริมและกำจัดออกเพราะไม่จำเป็นสำหรับเขา ในช่วงเวลานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของสมองซึ่งจะถึงจุด maturity ตอนอายุ 25 ปี
 
สุดท้ายสำหรับการสัมภาษณ์ช่วงนี้ Prof.Matthew แนะนำเว็บไซต์ sleepfoundation ซึ่งพี่ปุ๋มได้วางลิงค์ไว้ให้พวกเราตรงแหล่งข้อมูลแล้วค่ะ ซึ่งแนะนำระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุที่ไม่เท่ากันเลย เช่น
 
อายุ 6-13 ปี ต้องการการนอน 9-11 ช.ม.
อายุ 14-17 ปี ต้องการการนอน 8-10 ช.ม.
อายุ 18-25 ปี ต้องการการนอน 7-9 ช.ม.
 
ลองเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆที่ดีเกี่ยวกับการนอนได้จากเว็บไซต์นี้ค่ะ

ในโพสต์หน้า มาติดตามกันนะคะว่า เราสามารถ HACK การนอนหลับได้หรือไม่ น่าสนใจมากๆค่ะ

1. เรามีความเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องจังหวะการนอนของเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่น Prof.Matthew กล่าวว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาในเรื่องจังหวะการนอนในเด็กวัยรุ่นคือ “พวกเขาต้องการเข้านอนช้าลงและตื่นให้สายขึ้น” ซึ่งพ่อแม่ก็มักจะดุว่าลูกให้เข้านอนเร็วเนื่องจากพ่อแม่ก็ต้องตื่นเช้าเพื่อไปทำงานพร้อมกับส่งลูก
ดังนั้นการให้เด็กวัยรุ่นไปโรงเรียนแต่เช้า ก็เหมือนกับเขามีสมองที่รั่วใส่ความรู้อะไรเข้าไปก็ไหลออกหมดเก็บไว้ไม่ได้ เพราะเขานอนไม่พอ ที่สำคัญพ่อแม่มักจะคิดว่าลูกของตนนั้นนอนพอ โดยหารู้ไม่ว่ามีเพียงแค่ 15% ของเด็กวัยรุ่นเท่านั้นที่นอนพอ ดังนั้นวันเสาร์-อาทิตย์พวกเขาจึงนอนเอาเป็นเอาตาย เพื่อหวังชดเชยการอดนอนซึ่งมันชดเชยไม่ได้ การนอนไม่สามารถฝากธนาคารเอาไว้ได้ค่ะ
 
2. การนอนมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความยืดหยุ่นของสมอง (Brain plasticity) Prof.Matthew ให้ความกระจ่างเรื่องนี้ว่าเราจะแบ่งความสำคัญของการนอนต่อการพัฒนาสมองออกเป็นสองช่วงอายุ
 
– ช่วงที่ 1 ตั้งแต่เกิด-5 ขวบ การนอนช่วยเชื่อมต่อเซลล์ประสาทสมองเข้าด้วยกัน การนอนมีบทบาทเหมือนเป็น Internet Service Provider เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทข้างเคียงเข้าด้วยกัน ในช่วงระยะเวลานี้การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทจะเกิดขึ้นโดยทั่วสมอง ยังไม่มีความจำเพาะเจาะจงใดๆ เหมือนสร้างพิมพ์เขียวต้นแบบกลางๆเอาไว้
 
– ช่วงที่ 2 เป็นช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงอายุ 25 ปี ช่วงเวลานี้ประสบการณ์ของเด็กแต่ละคนจะสอนสมองให้เลือกเส้นทางและพื้นที่ภายในสมองที่เขาต้องการจะส่งเสริมและกำจัดออกเพราะไม่จำเป็นสำหรับเขา ในช่วงเวลานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของสมองซึ่งจะถึงจุด maturity ตอนอายุ 25 ปี
 
สุดท้ายสำหรับการสัมภาษณ์ช่วงนี้ Prof.Matthew แนะนำเว็บไซต์ sleepfoundation ซึ่งพี่ปุ๋มได้วางลิงค์ไว้ให้พวกเราตรงแหล่งข้อมูลแล้วค่ะ ซึ่งแนะนำระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุที่ไม่เท่ากันเลย เช่น
 
อายุ 6-13 ปี ต้องการการนอน 9-11 ช.ม.
อายุ 14-17 ปี ต้องการการนอน 8-10 ช.ม.
อายุ 18-25 ปี ต้องการการนอน 7-9 ช.ม.
 
ลองเข้าไปดูรายละเอียดเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆที่ดีเกี่ยวกับการนอนได้จากเว็บไซต์นี้ค่ะ

บทความหน้า มาติดตามกันนะคะว่า เราสามารถ HACK การนอนหลับได้หรือไม่ น่าสนใจมากๆค่ะ

แหล่งข้อมูล :
1. Youtube Rich Roll สัมภาษณ์ Prof.Matthew Walker
2. คำแนะนำระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมในประชากรตามอายุ
 
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

HEALTH IN TOUCH

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในการเปลี่ยน LIFESTYLE สู่การมีสุขภาพที่ดี และ LIFESPAN ที่ยืนยาว

Copyright 2020 © All rights reserved by healthspans