ลดความดันโลหิต ด้วยการหลับลึก

ลดความดันโลหิต ด้วยการหลับลึก

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email
การหลับลึกคือยาลดความดันโลหิตที่ดีที่สุดที่คุณหาได้จากตัวเอง
 
พี่ปุ๋มมาสรุปให้ต่อสำหรับการสัมภาษณ์ Prof.Matthew Walker 3 ช.ม.เต็มทางช่อง Rich Roll Channel ใน Youtube พี่วางลิงค์ไว้ให้แล้วนะคะ

ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับที่มีคุณภาพและโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ

Prof.Matthew กล่าวว่า
 
1. คนที่หลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจหรือภาวะหัวใจวายได้ถึง 200% ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่
 
2. งานวิจัยแบบ Prospective จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการศึกษากลุ่มประชากรขนาดใหญ่ซึ่งไม่เคยมีสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจมาก่อน และติดตามไป 5-6 ปี พบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน จะมีความเสี่ยงที่จะมีการเกาะตัวของแคลเซี่ยมในหลอดเลือดโคโรนารี่ (CAC Score) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การอุดตันของหลอดเลือด (artery plaque) เพิ่มขึ้น 200-300%
 
3. การนอนหลับลึกคือยาลดความดันโลหิตที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะหาได้จากตัวเองเพราะ
 
– การหลับช่วยลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก และเพิ่มการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก จึงทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง
 
– การหลับที่มีคุณภาพช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดจึงช่วยทำให้เกิดการผ่อนคลายตัวของหลอดเลือดอีกด้วย
 
– การหลับที่เรียกว่า Fragmented
หรือ Interrupted sleep คือหลับไม่ต่อเนื่อง หลับแล้วตื่นบ่อยๆและกลับมาหลับต่อได้ยาก ทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นตัว อาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ (atherosclerosis)

สิ่งใดจะทำลายสุขภาพได้อันดับหนึ่ง ระหว่าง ขาดการออกกำลังกาย vs ขาดอาหาร vs อดนอน

Rich Roll ถาม Prof.Matthew ว่า คิดว่าสิ่งใดจะทำลายสุขภาพได้อันดับหนึ่ง ระหว่าง ขาดการออกกำลังกาย vs ขาดอาหาร vs อดนอน
 
Prof.Matthew ตอบว่า “ผมคิดว่ามีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะเอาชนะการอดนอนได้ นั่นคือการขาดออกซิเจน” (เป็นคำตอบที่ชัดเจนมากๆเลยค่ะ-พี่ปุ๋ม) เขากล่าวต่อว่า
 
“ ถ้าคุณลดน้ำหนักแต่อดนอน น้ำหนักที่ลดจะกลายเป็นมวลกล้ามเนื้อที่หายไป เพราะร่างกายจะสงวนไขมันเอาไว้เมื่อเราอดนอน นอกจากนั้นเราจะอยากของหวาน เพราะการอดนอนจะมีผลทำให้ฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราอิ่ม และเกรลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราหิว จะทำงานเพี้ยนไปในทางตรงกันข้าม คือฮอร์โมนเลปตินจะลดลง ส่วนฮอร์โมนเกรลินจะเพิ่มขึ้น ทำให้การกินมื้ออาหารปกติซึ่งควรจะอิ่มกลับไม่อิ่ม จึงทำให้กินเกิน 200 ถึง 400 แคลอรี่เพิ่มขึ้นกว่าปกติต่อวันเลยทีเดียว”
 
“นอกจากนั้นเมื่อสแกนสมองในขณะที่อดนอนจะพบสมองส่วนฮีโดนิก (hedonic brain) ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกินแบบไม่รู้ตัว (Impulsive eating) ทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่สมองส่วนหน้า (Frontal cortex) ซึ่งมีหน้าที่ในการขัดขวางการทำงานของสมองส่วนฮีโดนิกจะถูกปิดกั้น”

ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจของความสำคัญของการนอนหลับที่เพียงพอและมีคุณภาพต่อสุขภาพ ที่จะมาเขียนสรุปให้พวกเราฟังต่อกันจากการสัมภาษณ์ Prof.Mathew Walker อีกราวๆ 2 ชั่วโมง รออ่านกันในตอนต่อไปค่ะ

หมายเหตุ: Prof.Matthew Walker เขียนหนังสือดีเกี่ยวกับการนอนชื่อ Why We Sleep ตีพิมพ์ในปี 2560 มีฉบับแปลภาษาไทยออกมาเมื่อปีที่แล้วในชื่อ “นอนเปลี่ยนชีวิต” โดยสำนักพิมพ์ bookscape หามาอ่านกันได้ค่ะ
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

HEALTH IN TOUCH

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในการเปลี่ยน LIFESTYLE สู่การมีสุขภาพที่ดี และ LIFESPAN ที่ยืนยาว

Copyright 2020 © All rights reserved by healthspans