เด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารประดิษฐ์อนาคตจะเป็นแบบนี้...

เด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารประดิษฐ์อนาคตจะเป็นแบบนี้…

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email
  • นักวิจัยกล่าวว่า เด็กที่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยอาหารประดิษฐ์ จะเติบโตขึ้นมาพร้อมปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว
  • น้ำหนักตัวเกินกำหนดจะทำให้อนาคตของเด็กเหล่านั้นมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และ เบาหวาน
  • ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวอีกว่าอาหารประดิษฐ์ยังก่อให้เกิดความเสียหายในระดับเซลล์ของเด็กๆ และยังนำไปสู่การมีนิสัยการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว
  • สาเหตุที่อาหารประดิษฐ์เป็นที่นิยมในการนำมาเลี้ยงดูเด็ก ก็เพราะว่ามันมีราคาถูก หาง่าย และสะดวกกว่าการเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพนั่นเอง

อาหารประดิษฐ์ทำให้เด็กอ้วนและอมโรคตอนโต

งานศึกษาชิ้นหนึ่ง  ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ JAMA Pediatrics ได้ติดตามการใช้ชีวิตของเด็กจำนวน 9,000 คนในประเทศอังกฤษ ที่ถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารประดิษฐ์ หรือ อาหารที่มีแคลอรี่สูง และ ประกอบไปด้วยสารปรุงแต่ง

อาหารประดิษฐ์ต่างๆ เช่น ฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ขนมหวาน และขนมขบเคี้ยว จะถูกผลิตมาจากส่วนประกอบจากอาหารโดยผ่านกระบวนการ ประกอบไปด้วย ไขมัน แป้ง และน้ำตาล 

ตลอดการเฝ้าติดตามเด็กในงานศึกษาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่กินอาหารประดิษฐ์มาก ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี จนเติบโตถึงอายุ 24 ปี พบว่า มีน้ำหนักเกินเฉลี่ยปีละประมาณครึ่งปอนด์ หรือ 0.23 กก. และ มีรอบเอวเกินประมาณปีละครึ่งนิ้ว

เด็กเหล่านั้นเติบโตขึ้นมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง

นักวิจัยจากอิมพีเรียลคอลเลจ กล่าวว่า ด้วยการเพิ่มขึ้นของอาหารประดิษฐ์ ที่เข้าถึงง่าย และ มีความหลากหลาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบโภชนาการอาหารของโลกจากในอดีตที่ประกอบขึ้นมาจากอาหารสดโดยผ่านกระบวนการน้อยที่สุด มาเป็นอาหารประดิษฐ์ ซึ่งก่อให้เกิดข้อกังวลจากการเพิ่มการบริโภคในกลุ่มเด็ก จนถึงผู้ใหญ่ที่เป็นผู้บริโภคหลัก

ภัยคุกคามต่อสุขภาพ

Michelle Tierney นักโภชนาการและ Personal Trainer ที่เชี่ยวชาญในการควบคุมน้ำหนัก ได้กล่าวว่า งานศึกษาดังกล่าวข้างต้นไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด แต่ก็มีเนื้อหาที่ควรที่จะมาเน้นย้ำ

เธอกล่าวว่า อาหารประดิษฐ์นับว่าเป็นหนึ่งในภัยคุกคามต่อสุขภาพ มันส่งผลเสียต่อระบบเมตาบอลิสมในระดับเซลล์ ทำลายความสามารถในการทำงานของเซลล์ มันก่อให้เกิดวงจรอุบาจว์ของโรคร้าย เช่น โรคหลอดเลือดแข็ง การดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไมโตคอนเดรียไม่แข็งแรง ซึ่งก่อให้เกิด ความอ่อนล้า สมองล้า อารมณ์ไม่สดใส ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

การปล่อยให้เกิดนิสัยการกินไม่ดีแบบนั้นตั้งแต่เด็ก จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาในอนาคต เธอกล่าวว่า เซลล์ที่อ่อนวัยยังมีความยืดหยุ่นแข็งแรง แต่ก็มีความเสื่อมสภาพลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น 

ร่างกายมนุษย์มีความสามารถในการการปรับตัว ถ้าเราเลือกกินในสิ่งที่ดี ร่างกายก็จะปรับตัวไปสู่การมีสุขภาพในระดับเซลล์ที่ดี แต่ถ้าเราเลือกที่จะกินอาหารประดิษฐ์ ร่างกายก็จะปรับตัวให้เป็นไปตามนิสัยการกิน ด้วยการสะสมไขมัน ที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน ก่อให้เกิดการดื้ออินซูลิน ซึ่งก่อให้เกิดโรคเบาหาน ก่อนให้เกิดการสะสมไขมันในหลอดเลือด ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และ อื่นๆ

เพราะมันง่ายและถูก

Julie Miller Jones ศาสตราจารย์ทางด้านโภชนาการ จากมหาวิทยาลัย St. Catherine รัฐมินนิโซต้า ชี้ว่าอาหารประดิษฐ์มักจะมีราคาถูก และ หาซื้อง่าย ในขณะที่อาหารที่มาจากธรรมชาติและไม่ผ่านกระบวนการผลิตมักจะมีราคาสูงและเสียเวลาในการเตรียม ครอบครัวรายได้น้อย และมีเวลาน้อยเนื่องจากต้องทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ จึงไม่มีกำลังและเวลาในการเตรียมอาหารสด ผักและผลไม้ เพื่อดูแลเด็กได้เองที่บ้าน

Dr. Danieal Ganjian  กุมารแพทย์  กล่าวว่าการระบาดของโรค Covid-19 ไม่ได้ช่วยทำให้การเข้าถึงอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีขึ้น เด็กๆที่อยู่บ้านในช่วงโรคระบาดกลับมีน้ำหนักตัวและเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนมากขึ้น เนื่องจากเข้าถึงอาหารได้ง่ายจากการเปิดตู้เย็น

พ่อแม่ที่ Work From Home และยังต้องดูแลลูกๆในเวลาเดียวกัน กลับกลายเป็นว่าไม่มีเวลาเตรียมอาหารดีๆให้ลูกกินได้ ผลสุดท้ายเด็กๆก็ได้กินอาหารประดิษฐ์กันมากขึ้น

พ่อแม่ผู้ปกครองควรต้องเรียนรู้ในการเลือกอาการที่มีโภชนาการที่ดีให้กับลูก เลือกอาหารให้เหมาะสมหากจำเป็นที่จะต้องเลือกอาหารสำเร็จรู้ก็ควรดูส่วนผสม ฉลากโภชนาการ และเลือกชนิดของอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อยที่สุด และช่วยสร้างนิสัยในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้เข้าไปในทุกๆมื้ออาหาร เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กที่มีโภชนาการที่ดีในวันนี้ จะเป็นเด็กที่มีสุขภาพดีและมีคุณภาพในวันข้างหน้าค่ะ

เราแนะนำให้คุณศึกษาวิธีแยกประเภทอาหารผ่านขบวนการ ด้วยวิธี NOVA Food Classification จาก Link บทความต่อไปนี้

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

HEALTH IN TOUCH

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในการเปลี่ยน LIFESTYLE สู่การมีสุขภาพที่ดี และ LIFESPAN ที่ยืนยาว

Copyright 2020 © All rights reserved by healthspans