เมื่อคุณอายุ 50 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงจากโรคกระดูกพรุนก็จะสูงขึ้น ภาวะกระดูกหักที่เกิดจากการล้มเพียงเล็กน้อยเป็นสัญญาณว่าคุณอาจจะกำลังมีภาวะกระดูกพรุน และเมื่อคุณมีอุบัติเหตุกระดูกหักง่ายๆที่มักเกิดขึ้นกับข้อมือ กระดูกสันหลัง และ สะโพก คุณก็จะมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะเกิดการหักของกระดูกขึ้นอีกภายใน 2 ปี และนี่คือคำเตือนของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) ที่ทำการรณรงค์ให้ผู้ใหญ่ทุกคนตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
ภาวะกระดูกหักจากกระดูกพรุน อาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรือ การลื่นล้มเนื่องจากการก้มตัวผิดจังหวะ เหล่านี้เป็นสัญญาณของโรคกระดูกพรุนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง ซึ่งถ้าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะเช่นนี้ก็อาจจะทำให้คุณกลายเป็นผู้ป่วย เกิดความเจ็บปวด และอ่อนแรง และมีความเสี่ยงมากที่จะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองในระยะยาว

สถิติของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF)
ผู้หญิง 1 ใน 2 คน และ ผู้ชาย 1 ใน 5 คน ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั่วโลก จะประสบกับความยากลำบากในชีวิตที่เหลืออยู่จากภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วย 40% ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง 60% ต้องการความช่วยเหลือ และ 33% อาจต้องการการดูแลในสถานพยาบาล
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน
- สูญเสียสัดส่วนความสูง 4 ซ.ม.
- มีการใช้ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อรักษาอาการอักเสบ ต่อเนื่อง
- มีคนในครอบครัวที่มีประวัติกระดูกสะโพกหัก
- การมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป
- การสูบบุหรี่
- การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- หมดประจำเดือนเร็ว
โยคะ และ โบนบรอธ ช่วยป้องกันกระดูกพรุนได้อย่างไร
นอกจากวิธีที่เรารู้จักกันดีในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน เช่น การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินดี การรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอร์ งดการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของสารสเตียรอยด์ ยังมีวิธีง่ายๆที่คุณปรับเข้ากับวิถีชีวิตของคุณก็คือ การเล่นโยคะ และ การดื่มโบนบรอธ

โยคะ 10 ท่า 10 นาทีต่อวัน ป้องกันกระดูกพรุน
ในปี 2009 Dr Loren Fishman แห่ง Columbia University ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่บริหารร่างกายด้วยการทำโยคะ เป็นเวลา 10 นาที ต่อวัน ด้วยท่า 10 ท่า ที่แตกต่างกัน จะมีความหนาแน่นของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังดีขึ้น
Dr Loren ได้ให้เหตุผลที่โยคะช่วยเรื่องความหนาแน่นกระดูกคือ การเล่นโยคะในท่าต่างๆ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อในรูปแบบที่จะกระตุ้นการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อกระดูก ดร.ลอเรน ยังสรุปว่าวิถีการออกกำลังกายที่มีมาแต่โบราณนี้สามารถช่วยป้องกันกระดูกพรุน พร้อมทั้งเสริมสร้างเซลล์กระดูกใหม่ในกรณีที่คุณมีภาวะกระดูกพรุนแล้วด้วย

โบนบรอธ วิธีป้องกันภาวะกระดูกพรุน
นอกจากการเล่นโยคะแล้วโบนบรอธก็เป็นอีกวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าช่วยในการฟื้นฟูรักษาโรคกระดูกพรุนไม่แพ้กัน Jennifer McGruther แห่ง The Nourished Kitchen ได้กล่าวว่า โบนบรอธอุดมไปด้วยสารอาหาร กรดอะมิโน และเจลาติน ที่ช่วยเสริมสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร และ ผิวพรรณ
Sally Fallon ผู้แต่งหนังสือ Nourishing Broth ได้เขียนว่า เจลาตินและคอลลาเจน อุดมด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการในการนำไปใช้เป็น “กาว” ที่เข้าไปสร้างความยืดหยุ่นแข็งแรงให้กับเส้นเอ็นที่ยึดและปกป้องกระดูกให้แข็งแรงขึ้น และคุณอาจจะไม่รู้ว่า คอลลาเจนยังทำหน้าที่เป็นกาวยึดแคลเซียมภายในกระดูกให้ยืดหยุ่นและแข็งแรงเช่นเดียวกัน