หลับลึก หรือ หลับตื้น อะไรสำคัญกว่ากัน

หลับลึก หรือ หลับตื้น อะไรสำคัญกว่ากัน?

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

ธรรมชาติออกแบบให้ทั้ง Non-REM และ REM Sleep มีความสำคัญต่อสุขภาพหมด

พี่ปุ๋มมาสรุปให้ต่อสำหรับการสัมภาษณ์ Prof.Matthew Walker 3 ช.ม.เต็มช่องของ Rich Roll ใน Youtube Channel พี่วางลิงค์ไว้ให้แล้วนะคะ
 
Prof.Matthew กล่าวว่า อีกคำถามหนึ่งซึ่งเขามักจะพบเป็นประจำคือ ระหว่าง Non-REM Sleep (ช่วงหลับตื้น) และ REM Sleep (ช่วงหลับลึก) อย่างไหนมีความสำคัญสำหรับสุขภาพมากกว่ากัน (คำถามนี้โดนใจพี่ปุ๋มมาก เพราะดูเหมือนสื่อจะไปให้ความสำคัญและออกแบบ application เพื่อวัดการนอนหลับลึกเป็นหลัก)
 
เขาตอบว่า Mother Nature คงไม่ออกแบบให้ Non-REM ดีกว่า REM หรือ REM ดีกว่า Non-REM เพราะถ้า REM Sleep ดีกว่า Mother Nature ก็ต้องกำจัดสิ่งที่ไม่ดีกว่าออกไปจากวิวัฒนาการ เขากล่าวว่าทั้งสองช่วงมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่จำเป็นต่อร่างกายทั้งสิ้น ดังนั้นทุกระยะของการนอนมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพ
 
และที่เป็นข้อมูลใหม่ที่พี่ปุ๋มก็เพิ่งได้ทราบจาก Prof.Matthew คือ ในเชิงวิวัฒนาการแล้ว Non-REM Sleep มีวิวัฒนาการมาก่อน REM Sleep โดยมีในปลาและสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในน้ำ ก่อนที่จะคลานขึ้นบกและเปลี่ยนครีบเป็นขา แยกออกเป็นนก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถึงจุดนี้จึงเริ่มมีวิวัฒนาการของ REM Sleep ทั้งในสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่แยกวิวัฒนาการ REM Sleep เป็นเอกเทศของใครของมัน (ถ้าใครสนใจเรื่องวิวัฒนาการจากปลามาเป็นสัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พี่ปุ๋มแนะนำหนังสือชื่อ “Your Inner Fish” เขียนโดย Prof.Niel Shubin ได้ลิขสิทธิ์แปลไทยโดยสำนักพิมพ์วีเลิร์นเมื่อ 11 ปีที่แล้วในชื่อ “ในคนมีปลา ในขามีครีบ” ต้องไปตามล่าจากร้านหนังสือมือสองกันดูค่ะ)
การอดนอนเรื้อรังส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

การอดนอนเรื้อรังส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

1. CDC แนะนำว่าควรนอนต่ำที่สุด 7 ชั่วโมงเพื่อรักษาสุขภาพ แต่เราพบว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันที่เดินผ่านคุณ (Rich Roll) มีภาวะนอนไม่พอ (พี่ปุ๋มคิดว่าสถิตินี้น่าจะเป็นกันทั่วโลก)
 
2. เมื่อให้คนที่สุขภาพดีนอนวันละ 4-5 ชั่วโมงติดกันแค่ 2-3 วัน จะพบว่าระดับเทสโทสเทอโรนลดลงราวกับว่าคนเหล่านี้แก่ลงไป 10 ปี ภายในชั่วระยะเวลา 3 วัน
 
3. และถ้าให้คนที่สุขภาพดีกินอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เป็นเวลา 4 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดจะถูกรบกวนจนแพทย์อาจจะจัดคุณให้อยู่ในกลุ่มเริ่มเป็นเบาหวาน (Pre-Diabetes) ซึ่งประหนึ่งว่า คุณทำให้ตัวเองมีน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัมได้ภายใน 4 วัน

4. การนอน 4 ชั่วโมงเพียงคืนเดียว สามารถลดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ลงได้ถึง 70%

การอดนอนเรื้อรังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

1. ถ้านอนไม่พอในช่วงหนึ่งอาทิตย์ก่อนไปฉีดวัคซีน จะพบว่าระดับภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อวัคซีนลดลงไปถึง 50% (ท่านที่กำลังเตรียมตัวจะไปฉีดวัคซีนต้องให้ความสำคัญกับการนอนมากๆนะคะ)
 
2. มีงานวิจัยที่ทำในอังกฤษ โดยให้คนที่มีสุขภาพดีนอน 6 ชั่วโมงไปหนึ่งสัปดาห์ และในสัปดาห์ถัดไปให้กลับมานอน 8 ชั่วโมง จากนั้นวัดการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนเปรียบเทียบกัน พบข้อมูลที่น่าตกใจ 2 ประการคือ
 
  1. ยีนจำนวน 711 ยีน มีกิจกรรมที่ผิดเพี้ยนไปอันเกิดจากการอดนอน
  2. 50% ของ 711 ยีน จะทำงานมากเกินคือ สนับสนุนเนื้องอก เพิ่มระดับความเครียดภายในเซลล์ และมีระบบเมตาบอลิสมที่ผิดปกติไป ในขณะที่อีก 50% ของยีน มีการทำงานที่ลดลง เช่นปิดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

3. การอดนอน ลดการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อ Natural Killer Cell ลงถึง 70% NKC จำเป็นมากในการจัดการกำจัดเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกาย

โพสต์นี้พี่สรุปแค่นี้ก่อน ในตอนต่อไปเราจะมาฟังกันว่า Prof.Matthew พูดถึงการอดนอนกับโรคทางระบบประสาทที่สำคัญอย่างอัลไซเมอร์อย่างไรบ้าง...ว้าวมากๆค่ะ

หมายเหตุ: Prof.Matthew Walker เขียนหนังสือดีเกี่ยวกับการนอนชื่อ Why We Sleep ตีพิมพ์ในปี 2560 มีฉบับแปลภาษาไทยออกมาเมื่อปีที่แล้วในชื่อ “นอนเปลี่ยนชีวิต” โดยสำนักพิมพ์ bookscape หามาอ่านกันได้ค่ะ
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

HEALTH IN TOUCH

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในการเปลี่ยน LIFESTYLE สู่การมีสุขภาพที่ดี และ LIFESPAN ที่ยืนยาว

Copyright 2020 © All rights reserved by healthspans