กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน Omega-6 มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจ Polyunsaturated fats: The Omega-6 Debate in Science Simon Hill สัมภาษณ์ Prof.Bill Harris นักวิจัยที่เชี่ยวชาญทั้ง omega-3 และ omega-6 มามากกว่า 30 ปี
เรามักจะได้ยิน health influencers ทางโซเชียลมีเดียบอกพวกเราว่า การบริโภคน้ำมันพืชซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid) สูง โดยเฉพาะ omega -6 (Linoleic Acid) เป็นโทษต่อร่างกาย เพราะการมีระดับ omega-6 ในกระแสเลือดสูงนั้น
1. จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบต่อเซลล์
เนื่องจาก omega-6 จะเปลี่ยนเป็น Arachidonic Acid (AA) ที่ตับ ซึ่ง AA เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง Bioactive molecule 100+ ชนิด ตัวที่สำคัญคือ Prostaglandin ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาอักเสบ นี่คือเหตุผลที่ไม่ควรบริโภค omega-6 ในปริมาณมาก เพราะจะเกิดการสร้าง AA มากตาม เพิ่มปฏิกิริยาอักเสบในร่างกาย ดังนั้นไม่ควรบริโภคน้ำมันพืชซึ่งมี omega-6 สูง แต่ควรบริโภคไขมันสัตว์ ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว ดูสมเหตุผลเนอะ ตรงจุดนี้ Prof.Bill บอกว่า ก็แปลกนะที่มนุษย์ไม่มีความจำเป็นต้องบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวเลยเพราะร่างกายสร้างได้เอง แต่กลับมีคนเห็นว่าต้องบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวสูงๆ ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอย่าง omega-3 และ omega-6 ที่มีประโยชน์ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ แต่กลับมีกลุ่มคนที่ปฏิเสธบอกว่าไม่ควรบริโภคเยอะ

2. ถ้ามีระดับ Omega-6 ในกระแสเลือดสูง จะทำให้ Low Density Lipoproteins เกิด oxidation กลายเป็น oxidized LDL
ซึ่งกลุ่มคนที่ปฏิเสธอันตรายของการมีปริมาณ LDL-particle จำนวนมาก เขาจะบอกว่า LDL particle ปรกติไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน(ทั้งๆที่มีหลักฐานงานวิจัยยืนยันหนักแน่นสุดๆ) แต่เป็น LDL particle ที่ถูก oxidized ต่างหากที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ดังนั้นการบริโภคน้ำมันพืชที่มี omega-6 สูง จะทำให้ LDL particle ถูก oxidized เป็นอันตรายอย่างยิ่ง น่าเชื่ออีกแล้วใช่ไหมคะ

พี่ปุ๋มนำการสัมภาษณ์ Prof. Bill Harris ความยาว 22 นาทีมาให้พวกเราได้ฟังกัน ซึ่งตอบคำถามที่เป็นเรื่องเข้าใจผิด 2 ข้อข้างบนได้อย่างชัดเจนมากๆ ซึ่งข้อมูลผิดๆถูกเผยแพร่จากกลุ่มคนที่ปฏิเสธประโยชน์ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยนำข้อมูลที่เป็นการศึกษาทางกลไก (mechanistic data) ทำในสัตว์ทดลอง หรือ ในหลอดทดลองมาเผยแพร่ เพื่อสร้างความสมเหตุผลให้ตัวเอง แต่กลับไม่สนใจ Epidemiological studies ที่มีจำนวนมาก (Ref1, Ref 2) ที่ติดตามประชากร 20,000-30,000 คน ไปเป็นระยะเวลาหลายสิบปี พบว่าคนที่มีระดับ omega-6 ในกระแสเลือดสูง เป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสพัฒนาโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวานต่ำกว่าคนที่มีระดับ omega-6 ในเลือดต่ำ
Prof.Bill Harris บอกว่า Ref3 เป็นงานวิจัยที่ดีมากๆทำโดย Brian S Rett และ Jay Whelan ที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มการบริโภค omega-6 ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มระดับ Arachidonic Acid (AA) เลย เพราะร่างกายควบคุมการสร้าง AA ให้อยู่ในภาวะสมดุลเสมอ นอกจากนั้นระดับ AA ในกระแสเลือดไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรเลยต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้นร่างกายมีระบบกำจัดภาวะออกซิเดชันที่เกิดกับ LDL particle ทันที ซึ่งตรงกับที่ Dr.Thomas Dayspring; lipidologist คนสำคัญเล็คเชอร์มาตลอด ซึ่งพี่ปุ๋มก็ได้นำมาทำไลฟ์สรุปให้พวกเราฟังไปแล้ว กลับไปฟังในช่อง Youtube ใหม่ได้ค่ะ Prof. Bill กล่าวว่า ร่างกายเป็นระบบที่ทำงานในลักษณะองค์รวม การมุ่งสนใจแต่ mechanistic data โดยไม่ดูผลงานวิจัยเชิงระบาดวิทยา ที่แสดงผลลัพธ์โดยรวมของอาหารตัวใดตัวหนึ่ง (Food Matrix) ที่มีต่อร่างกาย จึงทำให้เกิดความเข้าใจแบบมีอคติต่อ omega-6 ดังที่เห็นทางโซเชี่ยลมีเดีย

Simon Hill ถาม Prof.Bill Harris ว่า omega-6 มีอันตรายอะไรต่อร่างกายบ้าง Bill ตอบว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นไขมันย่อมให้พลังงานต่อ 1 กรัมสูงกว่า macro nutrient ตัวอื่น การที่อุตสาหกรรมอาหารนำไปใช้เป็นส่วนประกอบใน Ultraprocessed foods ร่วมกับ น้ำตาลเชิงเดี่ยว เกลือ มีโปรตีนต่ำทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับพลังงานล้นเกิน นำไปสู่โรคอ้วน ซึ่งก็จะลดทอนประโยชน์ของ omega-6 ที่มีต่อร่างกายไป Bill บอกว่านอกจากเรื่องนี้แล้ว เขาไม่เคยเห็นข้อมูลเรื่องการเป็นพิษของ omega-6 ต่อร่างกาย
เอางานวิจัยดีๆจากผู้ที่เขี่ยวชาญกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมากกว่า 30 ปี มาแค่ 3 ฉบับก่อน จริงๆแล้วพี่ปุ๋มเก็บงานวิจัยที่จะ debunk ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับน้ำมันพืชทุกจุดไว้มากกว่า 200 ฉบับ คิดไว้ว่าจะทำให้เฉพาะกลุ่มสมาชิกที่พี่กำลังจะเปิดทาง Youtube ได้ฟังกันค่ะ
สุดท้าย ใครอยากจะเชื่ออะไร เชื่อใคร จะบริโภคอะไร เดี๋ยวนี้พี่ปุ๋มปล่อยวางค่ะ ทำหน้าที่ของพี่เสร็จ…จบ ร่างกายเป็นของท่าน…เลือกเองค่ะ
แหล่งข้อมูล:
Ref.1: Dietary Linoleic Acid and Risk of Coronary Heart Disease: A Systematic Review and Meta-Analysis of Prospective Cohort Studies
Ref.2: Tissue n−3 and n−6 fatty acids and risk for coronary heart disease events
Ref3: Increasing dietary linoleic acid does not increase tissue arachidonic acid content in adults consuming Western-type diets: a systematic review