Categories
Bone Broth Intermittent Fasting Lifestyle Nutrition

Bone Broth ทำให้หลุด Fast ไหม?

“ Bone Broth ทำให้หลุด Fast ไหม? " หนึ่งในคำถามยอดฮิตของคนที่จะทำ Fasting และสนใจที่จะกิน Bone Broth บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหลายๆเวปไซต์ที่เป็นแหล่งความรู้ในการทำ Fasting และ Bone Broth ที่เชื่อถือได้มาสรุปสั้นๆแล้วเรียบเรียงให้คุณอ่านในที่เดียว จะเป็นอย่างไรไปหาคำตอบกันค่ะ

Bone Broth ทำให้หลุด Fast ไหม?

เอาแบบไม่เชียร์ Bone Broth ก่อนนะคะ ในทางเทคนิคผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ Fasting สายแข็งบอกว่าอาหารและเครื่องดื่มอะไรก็ตามที่มีแคลอรี่ อาหารและเครื่องดื่มเหล่านั้นล้วนทำให้หลุด Fast (1)

แต่เดี๋ยวนะอย่าเพิ่งรีบปิดบทความแล้วสรุปเร็วเกินไป อ่านต่อกันก่อนนะคะ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าภาวะฟาสต์ หรือ Fasted State คืออะไร ในเวปไซต์ Dietdoctor (2) ได้กล่าวไว้ว่า Fasted State ก็คือ ภาวะที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลิน และ กลูโคสในระดับต่ำหลังจากหยุดกินอาหารมา 8-12 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมมาใช้เป็นพลังงานแทนกลูโคส หรือที่เราเรียกว่าภาวะ Ketosis นั่นเอง

Bone Broth

แล้วทำไมเคยได้ยินว่า Bone Broth กินช่วง Fast ได้

นั่นสิ สับสนนะเนี่ย อ่านต่อดีกว่าค่ะ ในความเป็นจริง เวปไซต์ NCBI หรือ National Center for Biotechnology Information ได้ระบุว่าการกินคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่า 50 กรัมต่อวันจะทำให้ร่างกายเข้าสู่โหมดการใช้พลังงานจากไขมัน หรือภาวะ Ketosis  (3)

ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงให้ Bone Broth เป็นเครื่องดื่มที่อนุญาตให้ดื่มได้ในช่วงทำ Intermittent Fasting เพราะ Bone Broth มีคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำมากๆ เช่น Dr.Jason Fung นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมือวางอันดับต้นๆในเรื่องการใช้ Fasting ในการรักษาคนไข้เบาหวาน ได้ระบุว่า Bone Broth เป็นเครื่องดื่มที่แนะนำอย่างยิ่งในช่วงทำ Fasting เพราะคนไข้จะได้ประโยชน์จากสารอาหารใน Bone Broth และช่วยบรรเทาอาการหิวได้ดี (4)

OK Bone Broth ไม่ทำให้หลุด Fast งั้นกินเลยละกัน

เดี๋ยวนะ มีข้อมูลให้พิจารณาเพิ่มเติมอีกหน่อย ข้อมูลที่กล่าวมาว่ากิน Bone Broth ไม่หลุด Fast ข้างต้นนั้น พูดถึงในมุมของการใช้ไขมันเป็นพลังงานและภาวะคีโตซีส แต่ในความเป็นจริงการทำ Fasting ยังมีผลต่อร่างกายที่สำคัญอีกหลายประการ และประการที่สำคัญก็คือ Autophagy หรือ กระบวนการกลืนกินตัวเองของเซลล์ เป็นกระบวนการในการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ ช่วยกำจัดเซลล์เก่าและเซลล์หมดสภาพออกไป 

Siim Land ได้กล่าวไว้ว่าแต่ละคนมีเป้าหมายในการทำ Fasting ที่แตกต่างกัน ถ้าคุณต้องการผลของการทำ Fasting เพื่อสุขภาพแบบสายแข็งก็ควรคำนึงถึงเรื่องผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆนอกเหนือจากเรื่องการลดไขมัน และลดอิทธิพลของอินซูลิน (5)

หากต้องการผลเรื่องกระบวนการกลืนกินเซลล์ ก็ย้อนกลับไปสู่คำแนะนำจากสายแข็งว่าให้กินได้เฉพาะเครื่องดื่มที่ปราศจากแคลอรี่ เช่นน้ำเปล่า กาแฟ ชา น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์วินิก้า หรือ ACV เท่านั้น เราจะเรียกการทำ Fasting แบบนี้ว่า Water Fast หรือ True Fast 

Bone Broth

แล้ว Bone Broth Fast คืออะไร

Bone Broth Fast ต่างจาก Water Fast หรือ True Fast    เป็นหนึ่งในวิธีที่เรียกว่า Fasting Mimicking Diet โดยแทนที่จะให้หยุดกินอาหารทั้งหมด วิธีนี้จะให้กินอาหารโดยจำกัดแคลอรี่เหลือ 500-800 แคลอรี่ต่อวัน เป็นวิธีที่ปลอดภัย เหมาะกับมือใหม่ ในขณะที่ยังให้ผลดีต่อสุขภาพ (6)

Bone Broth Fast เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยมีการแนะนำวิธีกันมากมายเช่น Dr.Josh Axe แพทย์ chiropractic ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์ทางเลือก และผู้ที่ศึกษาและแนะนำเรื่อง Bone Broth Fast ที่มีชื่อเสียง (7) Ali Miller นักโภชนาการ Integrative dietitian (8) เวปไซต์ healthily.com (9) และ Dr.Kellyann เจ้าแม่เรื่อง Bone Broth ที่เขียนหนังสือยอดนิยม The 21 Day Bone Broth Diet (10)

สรุปไปต่อกับ Bone Broth ดีไหม

อ่านมาทั้งหมดแล้ว อาจจะยังงงๆ ไม่รู้ว่าจะเอายังไงดี เราขอสรุปข้อแนะนำเป็นข้อๆให้พิจารณาดังนี้ค่ะ

1 กิน Bone Broth จะหลุด Fast ไหม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำ Fasting ของแต่ละคน ถ้าคุณต้องการทำ Fast เพื่อผลของการลดไขมัน ต้องการลดอิทธิพลของอินซูลิน และรักษาภาวะ Ketosis การกิน Bone Broth ระหว่าง Fast คุณยังได้ผลที่คุณต้องการ และไม่ถึงกับทำให้หลุดจากภาวะ Ketosis แต่หากคุณต้องการทำ Fast แบบเข้มข้น ต้องการเสริมกระบวนการ Autophagy ให้คุณใช้วิธี True Fast หรือ Water Fast จะได้ผลดีที่สุดค่ะ

2 ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดทำ Fast ต้องการเริ่มต้น การดื่ม Bone Broth ระหว่าง Fast จะเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณเริ่มต้นได้ง่าย ปลอดภัย ไม่หิวทรมานระหว่างหยุดกิน และยังได้ประโยชน์ของการ Fast รวมถึงได้ประโยชน์อันทรงคุณค่าจากคอลลาเจนใน Bone Broth ที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร และ ผิวพรรณ 

คุณอาจจะใช้วิธีแบบ Bone Broth Fast หรือ วิธี 5:2 Fast Diet ที่กำลังนิยม (11) โดยใช้ Bone Broth เป็นอาหารประกอบ ในวัน Fast day 2 วัน วันละ 500-800 แคลอรี่  และ ในวัน Feed day 5 วันให้กินอาหารตามปกติ โดยเป็น Nutrient Dense Food (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ในบทความเรื่อง Bone Broth 5:2 Diet) iFast Bone Broth ถุงละ 35 แคลอรี่

เมื่อคุณเชี่ยวชาญในการทำ Fasting มากขึ้นคุณก็จะสามารถขยับเพดานไปเป็น Water Fast ได้ง่ายขึ้น

3 หากคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำ Fast โดยสามารถทำ Water Fast หรือดื่มน้ำอย่างเดียวในการทำ Fasting ได้ต่อเนื่องอยู่แล้ว คุณจะได้ประโยชน์จากการทำ Fasting เต็มที่อยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องดื่ม Bone Broth ในระหว่าง Fast 

4 สำหรับนักทำ True Fast สายแข็ง เราขอแนะนำให้คุณเตรียม Bone Broth ในการ Break Fast อาหารหลังทำ Fast ยาวต่อเนื่องควรเป็นอาหารเบาเบา ย่อยง่าย เพื่อให้ร่างกายปรับตัว Bone Broth จึงเป็นตัวช่วยที่ดีของคุณค่ะ 

ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ถูกแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่ละคนมีภาวะและกลไกในร่างกายที่แตกต่างกัน คงไม่มีอะไรถูกหรือผิด 100% ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล เราอยากแนะนำให้คุณเลือกวิธีที่คุณสามารถอยู่กับมันได้อย่างมีความสุขและได้ผลออกมาตามที่คุณตั้งเป้าไว้ หลายๆคนสามารถทำ Water Fast ได้สบายๆอย่างต่อเนื่อง แต่บางคนทำไม่ได้ เราก็แนะนำว่าอย่าฝืนร่างกาย เดินสายกลางที่เหมาะกับตัวเอง ไม่เข้มงวดยึดติดจนเกินไป ไม่ต้องแข่งขันถ้าวิธีนั้นไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับตัวเอง พิจารณาแบบนี้แล้ว Bone Broth อาจเป็นตัวช่วยที่ดีของคุณค่ะ

Categories
Intermittent Fasting Lifestyle Nutrition

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง IF16/8 vs Warrior Diet vs OMAD แบบไหนดีที่สุด

หลังจากพี่ปุ๋มสรุปเรื่องสรีระวิทยาของการหยุดกินอาหาร 5 ระยะ จากงานวิจัยชื่อ Starvation in man โดย Prof.George Cahill ไปแล้วนั้น น้องๆสามารถยึดมันเป็นหลักช่วยในการเลือก Fasting ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ต่อสุขภาพ และ ประยุกต์ใช้กิจกรรมอื่นเสริมกับการหยุดกินอาหาร เพื่อเป็นทางเลือกที่จะไม่ต้องหยุดกินอาหารระยะยาวบ่อยเกินไป ก็สามารถจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพตามที่ต้องการ

ในบทความนี้ พี่จะสรุปเปรียบเทียบการหยุดกินอาหาร 3 ประเภทที่เป็นที่นิยม ว่ามีข้อดีข้อเสีย และประโยชน์ต่อสุขภาพเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

มีประเภทของการหยุดกินอาหาร (Fasting) ราวๆ 15 ประเภท แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่

IF 16/8

คือ หยุดกินอาหาร 16 ชั่วโมง และมีหน้าต่างเวลาการกิน 8 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่เราจะกิน 2 มื้อ

The Warrior Diet (WD)

คือ หยุดกินอาหาร 20 ชั่วโมง และมีหน้าต่างเวลาการกิน 4 ชั่วโมงซึ่งกิน 1-2 มื้อ โดยมื้อใหญ่เป็นอาหารมื้อค่ำร่วมกับมื้อเล็กๆอีก 1 มื้อ

One Meal a Day (OMAD)

คือ หยุดกินอาหาร 22 ถึง 23 ชั่วโมงและมีช่วงเวลากินอาหารมื้อเดียวภายใน 1 ถึง 2 ชั่วโมง
แต่ละประเภทก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ต่อสุขภาพที่ต้องการ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะบอกว่าประเภทใดดีที่สุด การที่ใครคนใดคนหนึ่งทำการหยุดกินอาหารไม่ว่าจะเป็นประเภทใดอย่างสม่ำเสมอ ย่อมสำคัญกว่าการหยุดกินอาหารเป็นครั้งคราว

ประโยชน์ต่อสุขภาพจากการหยุดกินอาหาร

คนส่วนใหญ่ต้องการคือ ขจัดไขมัน สร้างมวลกล้ามเนื้อ ลดระดับน้ำตาล ระดับอินซูลิน ลดปฏิกิริยาอักเสบ ยืดอายุขัย ยกระดับกระบวนการ Autophagy เป็นต้น ซึ่งการหยุดกินอาหารแต่ละประเภทก็ให้ผลดีต่อสุขภาพที่มีความเหมือน หรือ แตกต่างกันอยู่บ้าง

ดังนั้นลองมาเปรียบเทียบการหยุดกินอาหารยอดนิยมทั้ง 3 ประเภท เพื่อประโยชน์ในการเลือกให้เหมาะกับเป้าหมายสุขภาพกันค่ะ

Infographic สรุปใจความสำคัญ “เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง IF 16/8 vs Warrior Diet vs OMAD แบบไหนดีที่สุด”

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ IF 16/8

IF 16/8 ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยผู้ที่ทำให้มันได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางคือ Martin Berkhan เขาตั้งชื่อการหยุดกินอาหารประเภทนี้ว่า IF 16/8 LeanGains Method ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้การหยุดกินอาหารประเภทนี้ เพื่อการเจริญเติบโตของมวลกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน

ข้อดี

  1. เป็นการหยุดกินอาหารเริ่มต้นในมือใหม่หัด fast หรือผู้ที่ไม่ต้องการหยุดกินอาหารเป็นเวลานานได้ดี
  2. ค่อนข้างง่ายและไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก ก็แค่ยกเลิกการกินอาหารไปหนึ่งมื้อในแต่ละวัน
  3. มีระยะเวลาที่เข้าสู่ภาวะหยุดกินอาหารจริงราว 12 ชั่วโมง หลังจากหักช่วงเวลาดูดซึมอาหารไป 4 ถึง 6 ชั่วโมง (ระยะที่ 1 : Post Absorptive State)
  4. ไม่รบกวนการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในคนที่ฝึกหนักและต้องการภาวะ Muscle Hypertrophy เนื่องจากไกลโคเจนที่ตับยังไม่ได้มีการพร่องอย่างสมบูรณ์ (ใช้เวลา 24 ชั่วโมง) ก็กลับมากินอาหารใหม่แล้ว จึงยังไม่มีการดึงกรดอะมิโนจากกล้ามเนื้อมาใช้ในการสร้างกลูโคสใหม่ที่ตับ
  5. ยังไม่ได้รับผลกระทบจากความทรมานด้วยความหิว ดังนั้นยังคงสามารถทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้ดีอยู่

ข้อเสีย

  1. ระยะเวลาหยุดกินอาหารไม่นานพอที่จะยกระดับกระบวนการ Autophagy ให้เพิ่มจากพื้นฐานได้มากนัก ซึ่งถือเป็นข้อเสียที่สำคัญ เนื่องจากการยกระดับกระบวนการ Autophagy จะเกิดขึ้นเมื่อหยุดกินตั้งแต่ 24 ชั่วโมง และสมบูรณ์เต็มที่เมื่อหยุดกิน 36 ถึง 48 ชั่วโมง แล้วแต่สุขภาพเมตาบอลิสมของคนๆนั้น
  2. ยังคงพบอาการอยากน้ำตาลในระหว่างช่วงหยุดกินอาหารได้เพราะยังไม่เข้าสู่ภาวะคีโตซิสเต็มที่ (48-72 ช.ม.)
  3. ถ้าในช่วงหน้าต่างเวลากิน 8 ชั่วโมง เรากินเกิน จำนวนมื้อถี่ เช่น 3-4 มื้อ ก็จะกลบประโยชน์ต่อสุขภาพที่ควรได้รับในช่วงหยุดกินอาหารไปได้อย่างน่าเสียดาย

ไม่มีอะไรที่ต่างกันมากนักระหว่าง IF 16/8 กับ IF 18/6 ในแง่ประโยชน์ต่อสุขภาพ ทางแก้ที่ทำได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในเรื่องการเข้าสู่ภาวะคีโตซิส ยกระดับกระบวนการ Autophagy พื้นฐาน ก็คือ เพิ่มการออกกำลังกาย ซาวน่า อาบน้ำเย็นจัด ในช่วงเวลาหยุดกินอาหาร

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ The Warrior Diet (WD)

การหยุดกินอาหารแบบนี้เป็นที่รู้จักกันโดย Ori Hofmekler ซึ่งโปรโตคอลการหยุดกินอาหารแบบนี้คือ มีช่วงเวลาหยุดกินอาหาร 20 ชั่วโมงร่วมกับออกกำลังกาย จากนั้นก็กินอาหาร 1 มื้อใหญ่ + มื้อเล็ก 1 มื้อ ภายในหน้าต่างเวลาการกิน 4 ชั่วโมง

ข้อดี

  1. เริ่มมีการใช้ไขมันเป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงาน เพราะเริ่มเข้าสู่ภาวะคีโตซิส
  2. ภาวะคีโตซิสจะทำให้ลดความหิวลงได้เป็นอย่างมาก ทำให้การหยุดกินอาหารเป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมงง่ายขึ้น
  3. เป็นการฝึกฝนร่างกายที่ดี ก่อนที่จะเริ่มต้นลองหยุดกินอาหารระยะยาวเช่น 3-5 วัน
  4. สามารถกินอาหารมื้อใหญ่และออกกำลังกายได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแคลอรี่นัก เพราะกินหนึ่งมื้อใหญ่ +1 เล็ก (option) ใน 4 ชั่วโมงเท่านั้น
  5. ถ้ามีการออกกำลังกายในช่วงหยุดกินอาหาร ยิ่งช่วยยกระดับกระบวนการ Autophagy พื้นฐาน
    6. สนับสนุนสุขภาพทางเดินอาหารให้ได้พัก เพราะจำนวนมื้อในการกินเหลือแค่หนึ่งมื้อใหญ่

ข้อเสีย

  1. ค่อนข้างยากที่จะพัฒนาสมรรถนะการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เมื่อเทียบกับ IF 16/8 เพราะมีระดับไกลโคเจนที่พร่องไปมากกว่า
  2. ถ้าช่วงเวลากินอาหารใกล้เวลานอน ก็อาจส่งผลรบกวนการนอน จากการที่ทางเดินอาหารยังต้องทำงาน ดังนั้นการเลือกช่วงเวลาหยุดกินอาหาร-กินอาหารให้เหมาะสมก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบางคน
  3. เนื่องจากมีหน้าต่างการกินแคบลง ถ้าได้รับสารอาหารในช่วงนี้ไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะโปรตีน ก็อาจทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

โดยทั่วไป WD ทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซิสได้ดีกว่า IF 16/8 แต่จำนวนแคลอรี ปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรตที่กิน การออกกำลังกายร่วมด้วย ก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อดีกรีของภาวะคีโตซิส กระบวนการ Autophagy และการเผาผลาญไขมันในคนแต่ละคนที่ใช้ WD ไม่เท่ากัน

ในแง่การเจริญเติบโตของมวลกล้ามเนื้อ IF 16/8 อาจดีกว่า WD เพราะมีหน้าต่างเวลาการกินถึง 8 ชั่วโมง สามารถ spike Muscle Protein Synthesis ได้ดีกว่า

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ One Meal a Day (OMAD)

OMAD คือการหยุดกินอาหาร 22-23 ชั่วโมงและมีช่วงเวลากินอาหารมื้อใหญ่สั้นๆหนึ่งมื้อภายในแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น

ข้อดี

  1. เป็นวิธีที่เผาผลาญไขมันได้ดีกว่าอีก 2 วิธี สร้างการขาดแคลนพลังงาน (Calorie Deficit) ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะกินอาหารแค่หนึ่งมื้อ
  2. ยกระดับกระบวนการ Autophagy พื้นฐานได้มากกว่าอีก 2 วิธี เนื่องจากมีระยะเวลาหยุดกินอาหารนาน 22 ถึง 23 ชั่วโมง อาจจะถึง 24 ชั่วโมงแล้วมีช่วงเวลาการกินแค่ 30 นาทีก็เป็นไปได้
  3. เข้าสู่ภาวะคีโตซิสได้เร็ว จึงลดอาการหิวและอยากน้ำตาลได้เร็วเช่นกัน
  4. เมื่อลดอาการหิวและรู้สึกอิ่มอยู่ตลอดเวลาก็ทำให้สามารถทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้ดี
  5. ฝึกให้ทางเดินอาหารมีประสิทธิภาพในการดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นเพราะว่ากินมื้อเดียว

ข้อเสีย

  1. เช่นเดียวกับ WD คือสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ไม่ดีเท่า IF 16/8
  2. เป็นการยากในการกินให้ได้รับแคลอรี่ที่ต้องการในหนึ่งวันภายในมื้อเดียว ในหน้าต่างเวลาการกินที่สั้นมาก (1 ช.ม.) ถ้าหากว่าวัตถุประสงค์ต่อสุขภาพนั้นไม่ใช่ต้องการลดน้ำหนัก
  3. Spike Muscle Protein Synthesis ได้ 1 ครั้งในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้อาจมีผลต่อกระบวนการสร้างโปรตีน (Protein Synthesis) ภายในร่างกายที่ลดลง
  4. เมื่อต้องบริโภคอาหารทั้งหมดเพื่อให้ได้แคลอรี่ที่ต้องการภายใน 1 มื้อ ทำให้เกิดอาการท้องอืด อึดอัด แน่นท้อง จุกเสียดได้
  5. สร้างเรื่องเครียดให้ร่างกายมากกว่าอีก 2 วิธี ถ้าเราไม่ได้กังวลต่อการสร้างมวลกล้ามเนื้อให้ใหญ่ผ่านการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านอย่างหนัก แต่ต้องการเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ยกระดับกระบวนการ Autophagy พื้นฐาน ลดระดับน้ำตาล อินซูลิน ก็แนะนำให้ทำOMAD หรือ WD สลับกันไป

คำแนะนำสุดท้าย ไม่ว่าจะเลือกการหยุดกินอาหารประเภทใด เราสามารถจะประยุกต์ความรู้จาก 5 ระยะของการหยุดกินอาหาร เพื่อเสริมการหยุดกินอาหารประเภทที่เราเลือกได้ โดยมีหลัก

  1. ยึดการหยุดกินอาหารที่สะดวกและเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์เป็นหลัก
  2. สามารถผสมการออกกำลังกาย การนอนที่มีคุณภาพ การรับแสงแดด การจัดการความเครียด เข้าไปเสริมการหยุดกินอาหารแต่ละวิธีได้
  3. กำหนดอาหารให้มีคุณภาพ เป็นอาหารธรรมชาติที่มีความหนาแน่นของสารอาหารสูง
  4. เพิ่มการหยุดกินอาหารระยะยาวเช่น 24 ช.ม. 1 ครั้งต่ออาทิตย์ 36-72 ชั่วโมง ควอเตอร์ละหนึ่งครั้ง

พี่ปุ๋มหวังว่าข้อมูลเปรียบเทียบการหยุดกินอาหาร 3 วิธีที่ได้รับความนิยมนี้ จะช่วยให้น้องทุกคนเลือกวิธีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และเป้าหมายสุขภาพของตัวเองกันนะคะ