พันธุกรรมทำให้บางคนสุ่มเสี่ยงต่อความอ้วนมากกว่าอีกคน ในสิ่งแวดล้อมทางอาหารยุคปัจจุบัน

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

นอกเหนือจาก Energy Expenditure ซึ่ง Assc.Prof. Herman Pontzer บอกว่า เป็นเรื่องที่มนุษย์เข้าใจผิดมากที่สุดใน Energy Homeostasis อย่างเช่นเข้าใจว่าเราสามารถควบคุม Energy Expenditure ได้ ทั้งๆที่ “The Cost of doing nothing” ที่เกิดจากการทำงานของทุกเซลล์ แค่อวัยวะภายในสำคัญ 5 อวัยวะ ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 7% ของน้ำหนักร่างกาย ก็ใช้พลังงานไปราว 60-70% ของพลังงานที่ใช้ไปในแต่ละวันแล้ว และที่สำคัญคืออยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตสำนึก นอกจากนั้นวิวัฒนาการออกแบบให้สมองมนุษย์ควบคุมการใช้พลังงานอย่างจำกัดในแต่ละวัน (Energy Constrained) เพื่อ match กับ Energy intake ที่จำกัดในยุคบรรพชีวิน ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตสำนึกเช่นกัน

คนอ้วนขี้เกียจ ไม่ออกกำลังกาย และขาดการยับยั้งชั่งใจจริงหรือ?

พี่ปุ๋มก็ยังเชื่อว่า เราก็ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วนอีกมาก โดยเฉพาะความเชื่อว่า คนที่อ้วนเกิดจากความขี้เกียจในการมีกิจกรรมทางกาย หรือไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจในการกิน ขาดแรงใจ ทั้งๆที่ Prof.Jeffrey M. Friedman ผู้ค้นพบฮอร์โมน leptin กล่าวในเล็คเชอร์ทุกครั้งว่า ในบรรดาลักษณะ (traits) ทั้งหมดของมนุษย์ พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อความอ้วนที่สุด เป็นรองก็แค่ความสูงเท่านั้น ทำให้คนบางคนสุ่มเสี่ยงต่อความอ้วนมากกว่าอีกคนในสิ่งแวดล้อมทางอาหารยุคปัจจุบัน

พันธุกรรมมีผลต่อความอ้วนของคน 2 คน เหมือนหม้อเก็บน้ำฝนที่มีขนาดต่างกัน

พี่ชอบการเปรียบเปรยที่ Prof.Joseph Proietto ซึ่งเป็น Professor Emeritus at the University of Melbourne in the Department of Medicine Austin Health และเป็น Endocrinologist ที่เชี่ยวชาญเรื่องเบาหวานและความอ้วน ได้พูดไว้อย่างน่าสนใจมาก เกี่ยวกับอิทธิพลของพันธุกรรมต่อความอ้วน เขาพูดว่า
 
“ ลองนึกถึงหม้อสองใบที่มีขนาดต่างกัน ใบหนึ่งจุน้ำได้ 5 ลิตร อีกใบหนึ่งจุน้ำได้ 50 ลิตร ทั้งสองใบถูกวางไว้ท่ามกลางสายฝนที่ตกกระหน่ำตลอดทั้งคืน เมื่อถึงตอนเช้าหม้อทั้งสองใบก็มีน้ำเต็ม ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรที่หม้อใบใหญ่จุน้ำได้มากกว่าใบเล็ก ซึ่งก็เหมือนกับพันธุกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละคน (หม้อบรรจุน้ำขนาดต่างกัน) และสิ่งแวดล้อมทางอาหาร (สายฝน) ที่ทำให้คนสองคนมีความสุ่มเสี่ยง (sensitive) ต่อความอ้วนแตกต่างกัน”

ถ้าเราเข้าใจความอ้วนผ่านงานวิจัยอย่างลึกซึ้ง เราจะสามารถช่วยเหลือคนอ้วนให้จัดการกับน้ำหนักได้ครบทุกมิติ และอยู่บนพื้นฐานตามความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on print
Share on email

HEALTH IN TOUCH

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในการเปลี่ยน LIFESTYLE สู่การมีสุขภาพที่ดี และ LIFESPAN ที่ยืนยาว

Copyright 2020 © All rights reserved by healthspans